วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศฟิลิปินส์

ประเทศฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ

 การแบ่งเขตการปกครอง

ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด
ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง

ลักษณะภูมิประเทศ 
เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด
ลักษณะภูมิอากาศ 
มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้







ประเทศไทย

                                                                    ประเทศไทย 
ที่ตั้ง    ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย หรือระหว่างเส้นละติจูดหรือเส้นรุ้งที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูดหรือเส้นแวงที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

    สำหรับที่ตั้งของประเทศไทยตามแนวลองจิจูดนั้น ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง การติดต่อในเชิงธุรกิจกับประเทศใด ๆ มีความจำเป็น ที่จะต้องรู้เวลาของประเทศนั้นว่า แตกต่างจากเวลาในประเทศไทยกี่ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความสะดวกและทันเวลา เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีเวลาที่เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง จีน มาเลเซีย มีเวลาเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเวลาตรงกันข้ามกับไทย
รูปร่าง
    ประเทศไทยมีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ กระบวยตักน้ำ ช่อดอกไม้ หรือม้าน้ำ แต่นักการทหารมองว่าเหมือน "หัวช้าง" โดยส่วนหัวช้าง คือ ภาคเหนือ ส่วนงวง คือ ภาคใต้ ส่วนที่เป็นปาก ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และชายฝั่ง ตะวันออก ส่วนหูช้าง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ด้วยลักษณะรูปร่างดังกล่าว จัดว่ามีข้อด้อยอยู่หลายประการ เช่น รูปร่างที่ยาวเรียวลงไปทางใต้ ทำให้เสียเวลาในการเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายในการสร้างเส้นทางคมนาคม รวมถึงการดูแลรักษาประเทศ เช่น การป้องกันชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียด ทั้งสองด้าน นอกจากนี้รูปร่างที่ยื่นออกไปหรือถูกขนาบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีปัญหาบริเวณชายแดนอยู่ตลอดเวลา เช่น มีการอพยพโยกย้ายถิ่นเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาก่อการร้ายและยาเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องระมัด ระวังเป็นพิเศษ
ขนาด
    ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่ อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ประกอบด้วย อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา บรูไน สิงคโปร์) รองจาก อินโดนีเซียและพม่า ใหญ่กว่าลาวประมาณ 2 เท่า ใหญ่กว่ากัมพูชาประมาณ 3 เท่า และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศ ฝรั่งเศส หรือมลรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา *มีพื้นที่ 513,115.020 ตารางกิโลเมตร หรือ 320,696,887.500 ไร่ (*ข้อมูลพื้นที่จากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 6 ภาคผนวก พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2529) หรือ ประมาณ 198,953 ตารางไมล์
             
 

ประเทศเวียดนาม

                                                                ประเทศเวียดนาม
 


ข้อมูลของประเทศ
อาณาเขต
เวียดนามมีพื้นที่ประมาณ 327,500 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย
ทิศเหนือ ติดกับ ประเทศจีน
ทิศใต้ ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดกับ อ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

  ภูมิอากาศในเขตภาคเหนือแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู1.ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกปรอยๆ และความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 องศา – 23 องศา
2.ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 – 39 องศา เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนมิถุนายน
3.ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 – 28 องศา
4.ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 – 20 องศา แต่ในบางครั้งอาจลดลงถึง 0 องศา เดือนที่อากาศหนาวที่สุดคือ มกราคม
ข้อมูลทั่วไปประเทศเวียตนาม• เมืองหลวง คือ ฮานอย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการค้าและอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญต่างๆ ดังนี้
1.โฮจิมินห์ซิตี้ (ไซ่ง่อน) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางทางการค้าด้วย
2.ไฮฟอง เป็นเมืองท่าอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือใกล้เมืองฮานอย
3.ดานัง เป็นเมืองท่าและเป็นเมืองด้านการท่องเที่ยว ติดทะเลจีนใต้อยู่ทางภาคกลางของเวียตนาม
4.เว้ เป็นเมืองประวัติศาสตร์ใกล้เมืองดานัง
• พื้นที่ เวียตนามมีพื้นที่ 327,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 81.4 ล้านคน
• ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์
• ภาษา ภาษาทางการคือ ภาษาเวียตนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
• สกุลเงิน สกุลเงินของเวียตนามคือ ดอง อัตราแลกเปลี่ยน 420-460 ดอง ต่อ 1 บาท
• ระบบการปกครอง เวียตนามปกครองแบบระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองโดยกองกำลังของรัฐ มีการแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร
                           

ประเทศกัมพูชา


                ประเทศลาว
ประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย
ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจามและชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา
ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนา นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี
ใน พ.ศ. 1345 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราบดาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิขะแมร์ อำนาจและความมั่งคังมหาศาลของจักรวรรดิขะแมร์ที่มีพระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติสืบต่อกนมานั้นได้ครอบงำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากเป็นเวลากว่า 600 ปี กัมพูชาถูกปกครองเป็นเมืองขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กัมพูชาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2496 สงครามเวียดนามได้ขยายเข้าสู่กัมพูชา ทำให้เขมรแดงขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งยึดกรุงพนมเปญได้ใน พ.ศ. 2518 กัมพูชาผงาดขึ้นอีกหลายปีให้หลังภายในเขตอิทธิพลสังคมนิยมเป็นสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชากระทั่ง พ.ศ. 2536 หลังจากหลายปีแห่งการโดดดี่ยว ชาติซึ่งเสียหายจากสงครามก็ได้รวมเข้าด้วยกันอีกครั้งภายใต้ระบอบราชาธิปไตยในปีเดียวกันนั้นเอง
ในการบูรณะประเทศหลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ กัมพูชามีความคืบหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ ประเทศกัมพูชาได้มีหนึ่งในบันทึกเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศใน พ.ศ. 2548 มีการพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา และเมื่อการขุดเจาะเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2556 รายได้จากน้ำมันสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาอย่างลึกซึ้ง










ประเทศพม่า


ประเทศพม่า
ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar; พม่า: [pjìdà̀uɴzṵ θà̀ɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀] ปี่เด่าง์ซุ ซัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพรมแดนทางทิศเหนือติดต่อกับจีน ทางทิศตะวันตกติดต่อกับอินเดียและบังกลาเทศ ทางทิศตะวันออกติดต่อกับลาวและไทยและทางทิศใต้จรดทะเลอันดามัน ยกเว้นทางฝั่งตะวันตกซึ่งอาจจรดมหาสมุทรอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า หรือ เมียนมา ส่วนในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์




ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย
เมืองหลวง ได้แก่ จาการ์ตา
     เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง
     ที่ตั้ง : อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ 
     - หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี 
     - หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา  ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
     - หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
     - อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
     - อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
     ภูมิอากาศ : อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) 
     ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
     จำนวนประชากรในเมืองสำคัญ : จาการ์ตา ประชากรประมาณ 10 ล้านคน สุราบายาประมาณ 2.5 ล้านคน บันดุงประมาณ 2.3 ล้านคน เมดานประมาณ 2.1 ล้านคน เกาะบาหลีประมาณ 3 ล้านคน 
     ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ
     ภาษา : ภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
 
 

                                                     

ประเทศบรูไน

ประเทศบรูไน
 เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
 ที่ตั้ง
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย 
โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
พื้นที่
5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong
เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara
ประชากร
374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)
อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)
ภูมิอากาศ  
ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม
และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ภาษา
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย
ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%)
และฮินดู
หน่วยเงินตราดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ
23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่า
เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ
23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)
 
 
               
ชื่อทางการ   

ประเทศลาว

ประเทศลาว

ตั้งและอาณาเขต
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
  • ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
  • ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
  • ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร












ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย
        มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
ลักษณะภูมิประเทศ
  1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
  2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
  • ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม



ประเทศสิงคโปร์

1.   ที่ตั้งและอาณาเขต
          สิงคโปร์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ใกล้เส้นศูนย์สูตร อยู่ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย  ทางเหนือของหมู่เกาะเรียวประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์ และเกาะเล็กๆ อีกกว่า 50 กว่าเกาะ มีช่องแคบยะโฮร์  มีพื้นที่ทั้งหมด 618 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับช่องแคบยะโฮร์
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลจีนใต้
ทิศใต้ ติดกับช่องแคบสิ งคโปร์
ทิศตะวันตก ติดกับช่องแคบมะละกา
2.   พื้นที่
            สิงคโปร์มีพื้นที่ทั้งหมด 618 ตาราง มียอดเขาสูงที่สุดคือ Bukit Timah  แม่น้ำสายหลักคือ Singapore และ Rochor สิงคโปร์  มีถนนและเส้นทางรถไฟเชื่อมกับมาเลเซีย ณ Singapore/Johor Causeway ระยะทางประมาณ 6 กม.
3.    ลักษณะภูมิประเทศ

         ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เป็นที่เกิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์  ภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จึงมีการถมทะเล  ฝั่งทะเลของสิงคโปร์มีลักษณะเว้าแหว่งเหมาะที่จะเป็นท่าเรือ ที่ตั้งของเกาะสิงคโปร์จึงเป็นเส้นทางผ่านของการเดินเรือที่มาจากอินเดีย ซึ่งจะผ่านไปออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  จีน  ญี่ปุ่น  และประเทศต่างๆในยุโรป ดังนั้นสิงคโปร์จึงเป็นศูนย์กลางการเดินเรือที่สำคัญ ของเชียตะวันออกเฉียงใต้
   

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบกลางภาคเรียน

1."การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ,อุปกรณ์และวิธีการ" ข้อความดังกล่าวเรียกว่าอะไร
ก.project 5 Coffee shop
ข.สื่อประสม
ค.YID Downloader
ง.Google SketchUp
เฉลย ข.สื่อประสม

2.ความหมายของสื่อประสม คืออะไร เลือกข้อที่ถูกที่สุด
ก.เป็นข้อมูลประเภทภาพนิ่ง
ข.เป็นกราฟฟิกที่แสดงด้วยจุดภาพในแนวตั้งและแนวนอน
ค.การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกัน ทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
ง.นำข้อมูลต่างๆมารวบรวมสร้างเป็นแฟ้มข้อมูล
เฉลย ค.การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกัน ทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

3.ข้อใดเป็นองค์ประกอบของสื่อประสม
ก.ข้อมูลประเภทภาพนิ่ง
ข.ประสมสื่อที่เป็น วัสดุ อุปกรณ์และกระบวนการ
ค.ประสมสื่อประเภทฉาย
ง.สื่อประสมประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ
เฉลย ก.ข้อมูลประเภทภาพนิ่ง

4.การนำเสนอภาพนิ่งอย่างเหมาะสม นิยมใช้กันกี่รูปแบบ
ก. 1 รูปแบบ
ข. 2 รูปแบบ
ค. 4 รูปแบบ
ง. 5 รูปแบบ
เฉลย ข. 2 รูปแบบ

5."ข้อมูลเสียง ที่ใช้ในสื่อประสม จำเป็นต้องบันทึกและจัดรูปแบบเฉพาะ" ข้อความดังกล่าวคือข้อมูลประเภทใด
ก.การเชื่อมโยงหลายมิติ
ข.ข้อมูลประเภทภาพเครื่อนไหว
ค.ส่วนต่อสาน
ง.ข้อมูลประเภทเสียง
เฉลย ง.ข้อมูลประเภทเสียง